ระบบสืบพันธ์ุเพศหญิง
อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
ประกอบด้วยส่วนต่าง ดังนี้
อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
|
ลักษณะและหน้าที่
|
1.รังไข่(ovary)
|
มีลักษณะรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ2-3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
มีน้ำหนักประมาณ 2-3 กรัม และมี 2 อัน
อยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างโดยด้านในยึดติดกับมดลูกโดยเส้นเอ็น
ส่วนด้านนอกยึดติดกับลำตัว ทำหน้าที่ผลิตไข่ (ovum)และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือ
-เอสโทรเจน (estrogen) ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก
และควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง
-โพรเจสเทอโรน (progesterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงาน ร่วมกับเอสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก
|
2. ท่อนำไข่ (oviduct)
หรือปีกมดลูก (fallopian tube)
|
เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก
มีกล้ามเนื้อซึ่งบีบรัดตัวเสมอ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
โดยมีปลายข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่ เรียกว่า ปากแตร (funnel) บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้น ๆ
ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกมาจากรังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่
ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าไปปฏิสนธิกับไข่
|
3.มดลูก (uterus)
|
มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง
กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8เซนติเมตร
หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก
ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็น
ที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
|
4.ช่องคลอด (vagina)
|
เป็นท่อยาวจากปากช่องคลอดไปจนถึงปากมดลูกอยู่ระหว่างท่อปัสสาวะและทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก
เป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอดและยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาสู่ภายนอก
|
ประจำเดือน (Menstruation)
ประจำเดือน คือเนื้อเยื่อผนังมดลูกด้านในและหลอดเลือดที่สลายตัวไหลออกมาทางช่องคลอด
ประจำเดือนจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิเพศหญิงจะมีประจำเดือนตั้งแต่อายุประมาณ
12 ปีขึ้นไป
ซึ่งจะมีรอบของการมีประจำเดือนทุก 21-35 วัน เฉลี่ยประมาณ 28 วัน จนอายุประมาณ 50 ปี
จึงจะหมดประจำเดือน ผู้หญิงจะมีช่วงระยะเวลาการมีประจำเดือนประมาณ
3-6 วัน ซึ่งจะเสียเลือดทางประจำเดือนแต่ละเดือนประมาณ 60-90 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ดังนั้นผู้หญิงจึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีน
เพื่อสร้างเลือดชดเชยส่วนที่เสียไป
การที่ผู้หญิงบางคนมีประจำเดือนมาไม่ปกติ
อาจเนื่องมาจากอารมณ์และความวิตกกังวลทำให้การหลั่งฮอร์โมนของสมองผิดปกติ ซึ่งจะมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่สุก
คือ ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) และฮอร์โมน
LH (Luteinizing Hormone) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิประมาณ
50,000-90,000 เท่า ขนาดของเซลล์ไข่ประมาณ 0.2 มิลลิเมตร เราสามารถมองเห็นเซลล์ไข่ได้ด้วยตาเปล่า
แหล่งที่มา :
www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson7.php
http://www.vimanloy.com/lesson/lesson1_3.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น